แค่สูดก็เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด มะเร็งปอดสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ แต่เราพบว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่เลยก็เป็นมะเร็งปอดได้ด้วย และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
แค่สูดก็เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด ปัจจัยเหล่านี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้ถึง 2.5 เท่า สำนักงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ระบุว่า มลพิษทางอากาศโดยเฉพาะ ฝุ่น PM2.5 เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งสำหรับมนุษย์ได้ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก
ทางการแพทย์พบว่า มีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งปอดหลายอย่าง เช่น
1. ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่
2. มลภาวะทางอากาศ
3. สัมผัสกับสารพิษในโรงงานแร่ใยหิน
4. กรรมพันธุ์
PM2.5 ย่อมาจาก Particulate matter 2.5 micron หมายถึง อนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศ ที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์กว่า 120 เท่า อนุภาคเหล่านี้มีหลายชนิด เช่น ก๊าซพิษ และสารก่อมะเร็ง มักจะเกิดจากการเผาในที่โล่ง การเผาไหม้จากเครื่องรถยนต์ และควันจากโรงงานอุตสาหกรรม
ดังนั้นเมื่อ PM2.5 ลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอด จะเข้าไปโดยที่เราไม่รู้สึกตัว และป้องกันไม่ได้ เมื่อเข้าไปในปอดแล้ว ก็จะเกิดการอักเสบ มีการกลายพันธุ์ของ DNA และ RNA ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมในร่างกาย
ดังนั้น หากจะต้องออกนอกอาคารไปในที่โล่งแจ้ง ควรตรวจสอบค่าฝุ่นก่อนผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น กรมควบคุมมลพิษ เป็นต้น ควรสวมหน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่น PM2.5 ในช่วงที่มีฝุ่นเกินค่าปกติ หากเป็นไปได้ควรงดออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงในที่ที่มีฝุ่นมาก หมั่นสังเกตตัวเอง หากมีอาการผิดปกติ เช่น ระคายเคืองทางเดินหายใจ แสบจมูก แสบคอ หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย หรือไอ ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : yourhowto